Mechanical and Aerospace Engineering Department

ปริญญาเอก

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล (DME)

แผนการศึกษา | คำอธิบายรายวิชา | แผนภูมิความต่อเนื่อง

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล

ภาษาอังกฤษ : Doctor of Philosophy Program in Mechanical Engineering

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (วิศวกรรมเครื่องกล)

ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ปร.ด. (วิศวกรรมเครื่องกล)

ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Doctor of Philosophy (Mechanical Engineering)

ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : Ph.D. (Mechanical Engineering)

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

แบบ 1.1 และแบบ 2.1 จำนวน 48 หน่วยกิต

แบบ 1.2 และแบบ 2.2 จำนวน 72 หน่วยกิต

รูปแบบ

หลักสูตร 3 ปี แบบ 1.1 และแบบ 2.1

หลักสูตร 4 ปี แบบ 1.2 และแบบ 2.2

ภาษาที่ใช้

หลักสูตรจัดการศึกษาเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

การรับเข้าศึกษา

รับนักศึกษาไทย และนักศึกษาต่างชาติที่สามารถใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

  1. แบบ 1.1 ผู้เข้าศึกษาต่อจะต้องสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโททางด้านวิศวกรรมศาสตร์หรือเทียบเท่า โดยมีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรในระดับปริญญาตรีไม่ต่ำกว่า 3.00 และในระดับปริญญาโทไม่ต่ำกว่า 3.50 และมีผลการทดสอบจากศูนย์ทดสอบทางภาษา TOEFL (Paper-based) ไม่ต่ำกว่า 525 คะแนน หรือ TOEFL (Computer-based) ไม่ต่ำกว่า 195 คะแนน หรือ IELTS (Academic Module) ไม่ต่ำกว่า 5.5 หรือผลการทดสอบอื่นๆ ที่เทียบเท่า โดยผลการสอบ มีอายุไม่เกิน 2 ปี นับตั้งแต่วันสอบจากสถาบันที่มีการทดสอบ
  2. แบบ 1.2 ผู้เข้าศึกษาต่อจะต้องสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีทางด้านวิศวกรรมศาสตร์หรือเทียบเท่า โดยได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง หรือมีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า 3.50 และมีผลการทดสอบจากศูนย์ทดสอบทางภาษา TOEFL (Paper-based) ไม่ต่ำกว่า 525 คะแนน หรือ TOEFL (Computer-based) ไม่ต่ำกว่า 195 คะแนน หรือ IELTS (Academic Module) ไม่ต่ำกว่า 5.5 หรือผลการทดสอบอื่นๆ ที่เทียบเท่า โดยผลการสอบมีอายุ ไม่เกิน 2 ปี นับตั้งแต่วันสอบจากสถาบันที่มีการทดสอบ
  3. แบบ 2.1 ผู้เข้าศึกษาต่อต้องสำเร็จปริญญาโททางด้านวิศวกรรมศาสตร์โดยมีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า 3.25
  4. แบบ 2.2 ผู้เข้าศึกษาต่อต้องสำเร็จปริญญาตรีทางด้านวิศวกรรมศาสตร์โดยมีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า 3.25 ในกรณีที่ผู้สมัครมีคุณสมบัติไม่อยู่ในเกณฑ์ข้อ (2.2.3) ถึง (2.2.4) ให้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจขอภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลและการบิน-อวกาศ

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

นักวิจัยด้านวิศวกรรมเครื่องกลและสาขาที่เกี่ยวข้อง วิศวกร ผู้จัดการโครงการทางวิศวกรรม ผู้ประกอบการ นักวิชาชีพในสถานประกอบการณ์ที่มีการใช้เทคโนโลยีทางวิศวกรรมเครื่องกล อาจารย์ นักวิเคราะห์และวางแผนงานวิจัย เป็นต้น

ความสำคัญของหลักสูตร

ปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมและภาครัฐมีการพัฒนาและนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ทำให้มีความต้องการบุคลากรด้านวิศวกรรมเครื่องกลขั้นสูงจำนวนมาก ดังนั้นภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลและการบิน-อวกาศจึงได้เสนอหลักสูตรนี้เพื่อตอบสนองความต้องการดังกล่าวโดยมุ่งหวังให้ดุษฎีบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรนี้ เป็นวิศวกรที่มีความรู้ในศาสตร์เชิงลึกด้านวิศวกรรมเครื่องกลขั้นสูง สามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

  1. เพื่อพัฒนาดุษฎีบัณฑิตให้มีความเชี่ยวชาญและมีทักษะด้านวิศวกรรมเครื่องกลเชิงลึกเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคม ประเทศชาติ เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ
  2. เพื่อผลิตงานวิจัยที่เน้นการแก้ปัญหาวิศวกรรมเชิงลึกเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
  3. เพื่อสร้างกลไกความร่วมมือแบบเครือข่ายวิจัยระหว่างสถาบันการศึกษาหรือหน่วยงานวิจัยชั้นนำระดับชาติ และระดับนานาชาติ ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ