Mechanical and Aerospace Engineering Department

ปริญญาตรี

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล (ME)

แผนการศึกษา | คำอธิบายรายวิชา | แผนภูมิความต่อเนื่อง (65) | แผนภูมิความต่อเนื่อง (60)

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย : หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล

ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Engineering Program in Mechanical Engineering

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมเครื่องกล)

ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : วศ.บ. (วิศวกรรมเครื่องกล)

ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Engineering (Mechanical Engineering)

ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.Eng. (Mechanical Engineering)

Program Educational Objectives (ABET Criterion 2)

PEO 1: บัณฑิตประยุกต์ใช้ทักษะทางด้านเทคนิคทางวิศวกรรมในการแก้ปัญหาทางวิศวกรรมเครื่องกล และสาขาที่เกี่ยวข้อง

PEO 2: บัณฑิตวิเคราะห์ ออกแบบ และประเมินผลการทดสอบชิ้นส่วน หรือระบบ เพื่อให้บรรลุตามข้อกำหนดทางเทคนิค โดยมีการคำนึงถึงผลกระทบทางเศษฐกิจ

PEO 3: บัณฑิตสื่อสารได้อย่างชัดเจน และมีทักษะความเป็นผู้นำ เพื่อทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในฐานะของบุคคล และฐานะของสมาชิกของทีมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม

PEO 4: บัณฑิตทำงานอย่างมืออาชีพ และมีจรรยาบรรณในการทำงาน

PEO 5: บัณฑิตแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี และมีบทบาทความเป็นผู้นำในภาคอุตสาหกรรม

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

147 หน่วยกิต

รูปแบบ

หลักสูตรระดับปริญญาตรี 4 ปี

ภาษาที่ใช้

การจัดการเรียนการสอนใช้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ สำหรับเอกสารและตำราเรียนในหลักสูตรมีทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

การรับเข้าศึกษา

รับนักศึกษาไทยหรือนักศึกษาต่างประเทศที่สามารถใช้ภาษาไทยได้

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ในสาขาวิชาเครื่องกล หรือระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ จากสถานการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง และต้องผ่านการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อ ตามระเบียบการคัดเลือกนักศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา หรือตามระเบียบของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต พ.ศ. 2552 และฉบับที่ปรับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2554

ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน

มีความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ซึ่งบันทึกในฐานข้อมูลหลักสูตรเพื่อเผยแพร่ (Thai Qualifications Register : TQR) ของสำนักคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล ภายในปีการศึกษา 2557

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้สามารถประกอบอาชีพดังต่อไปนี้

– วิศวกรฝ่ายออกแบบและพัฒนากระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์

– วิศวกรควบคุมการผลิตและคุณภาพ

– วิศวกรเครื่องกลในภาคอุตสาหกรรม

– วิศวกรฝ่ายขายและบริการด้านเทคนิควิศวกรรม

– ผู้ช่วยนักวิจัยงานด้านวิศวกรรม

ความสำคัญของหลักสูตร

หลักสูตรวิศวกรรมเครื่องกลเป็นหลักสูตรที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ความรู้ด้านคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ และเคมี ในการวิเคราะห์และออกแบบชิ้นส่วนและระบบทางกล ระบบพลังงาน รวมถึงระบบควบคุม การผลิตและบำรุงรักษา ความรู้พื้นฐานดังกล่าวมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อภาคอุตสาหกรรมทั้งอุตสาหกรรมการผลิตทั่วไปและอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงทั้งในและต่างประเทศ

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

ผลิตวิศวกรเครื่องกลที่สามารถประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะด้านวิศวกรรมเครื่องกล

1). ในการทำงานเพื่อตอบสนองความต้องการของทั้งภาคอุตสาหกรรมหรือภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องและนำไปสู่ความสำเร็จและความก้าวหน้าในวิชาชีพ

2). เพื่อสร้างนวัตกรรมและมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตของภาคอุตสาหกรรม หน่วยงานราชการ หรือหน่วยงานที่สังกัดอื่นๆ

3). เพื่อเป็นหนื่งในผู้นำที่เป็นส่วนสำคัญขององค์กรทางด้านวิศวกรรมหรือทางด้านบริหารจัดการ

4). เพื่อการศึกษาต่อและประสบความสำเร็จในการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น

ผลิตวิศวกรเครื่องกลที่สามารถประยุกต์ใช้ทักษะในการเรียนรู้ด้วยตนเอง

5). เพื่อพัฒนาความสามารถและได้รับใบประกอบวิชาชีพในระดับสูงขึ้น

6). เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถและทักษะให้ก้าวทันเทคโนโลยีวิศวกรรมใหม่ๆ

7). เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะของศาสตร์ในด้านอื่นๆ และบูรณาการการทำงานให้ประสบความสำเร็จในอาชีพ

8). ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบองค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม

จุดเด่นเฉพาะของหลักสูตร

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมเครื่องกล ฉบับปรับปรุงปี พ.ศ. 2560 เป็นหลักสูตรที่ถูกออกแบบภายใต้ Outcome based learning (OBE) เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ทั้งด้าน Thermal Engineering และ Mechanical Design รวมถึงการฝึกทักษะทั้งทางด้าน Engineering Skill และ Soft skill มีการจัดลำดับการเรียนรู้อย่างชัดเจน เป็นหลักสูตรที่มีการนำเทคโนโลยีด้านการสร้างแบบจำลองด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อออกแบบและแก้ไขปัญหาทางด้านวิศวกรรมเครื่องกล รวมถึงใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างนวัตกรรมตามนโยบาย Thailand 4.0 มาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อฝึกให้นักศึกษามีความรู้และทักษะในการคำนวณและออกแบบด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ อีกทั้งยังมีการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบของกลุ่มรายวิชาให้นักศึกษาได้มีโอกาสเลือกตามความต้องการ เพื่อสร้างความสามารถและทักษะเฉพาะทางเกี่ยวกับงานด้านวิศวกรรมเครื่องกลที่สอดคล้องกับเทคโนโลยีและความต้องการของภาคอุตสาหกรรมในปัจจุบัน

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ (AE)

แผนการศึกษา | คำอธิบายรายวิชา | แผนภูมิความต่อเนื่อง (65) | แผนภูมิความต่อเนื่อง (60)

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย : หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ

ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Engineering Program in Aerospace Engineering

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมการบินและอวกาศ)

ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : วศ.บ. (วิศวกรรมการบินและอวกาศ)

ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Engineering (Aerospace Engineering)

ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.Eng. (Aerospace Engineering)

Program Educational Objectives (ABET Criterion 2)

PEO 1: สามารถกำหนดปัญหา วิเคราะห์ ออกแบบ และทำการทดลอง เกี่ยวกับชิ้นส่วนหรือระบบทางด้านการบินและอวกาศ ภายใต้ข้อจำกัดทางเศรษฐกิจ

PEO 2: สามารถเพิ่มพูนความรู้และทักษะทางวิชาชีพจากการศึกษาในระดับบัณฑิตวิทยาลัย หรือหลักสูตรพัฒนาวิชาชีพ

PEO 3: สามารถพัฒนาและประยุกต์ความรู้ขั้นพื้นฐาน ให้เข้ากับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว สามารถปรับตัวเข้ากับกฎระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ไปจนถึงการรับบทบาทผู้นำในอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ

PEO 4: สามารถใช้ทักษะด้านการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งงานส่วนตัวและการทำงานร่วมกับผู้อื่นที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม

PEO 5: มีการปฏิบัติตนโดยยึดหลักจริยธรรมและมีความเป็นมืออาชีพ ปฏิบัติตนโดยนึกถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยในสังคมที่อาจจะเกิดขึ้นสืบเนื่องมาจากการทำงานทางด้านวิศวกรรม

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

147 หน่วยกิต

รูปแบบ

หลักสูตรระดับปริญญาตรี 4 ปี

ภาษาที่ใช้

การจัดการเรียนการสอนใช้ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ สำหรับเอกสารและตำราเรียนในวิชาของหลักสูตรมีทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

การรับเข้าศึกษา

รับนักศึกษาไทยหรือนักศึกษาต่างประเทศที่สามารถใช้ภาษาไทยได้

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ในสาขาวิชาเครื่องกล หรือระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ จากสถานการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองและต้องผ่านการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อตามระเบียบการคัดเลือกนักศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาหรือตามระเบียบของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต พ.ศ. 2552 และฉบับที่ปรับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2554

ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน

มีความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ซึ่งบันทึกในฐานข้อมูลหลักสูตรเพื่อเผยแพร่ (Thai Qualifications Register : TQR) ของสำนักคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ ภายในปีการศึกษา 2562

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้สามารถประกอบอาชีพดังต่อไปนี้
– วิศวกรทางการบินและอวกาศ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
– วิศวกรควบคุมการผลิตและคุณภาพ
– วิศวกรฝ่ายออกแบบและพัฒนากระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์
– วิศวกรเครื่องกลหรือด้านวิศวกรรมการบินในภาคอุตสาหกรรม
– ผู้ช่วยนักวิจัยงานด้านวิศวกรรม

ความสำคัญของหลักสูตร

หลักสูตรวิศวกรรมการบินและอวกาศเป็นหลักสูตรที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ความรู้ด้านคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ ในการวิเคราะห์และการออกแบบเบื้องต้นในด้านการบิน ทั้งการบินในชั้นบรรยากาศและในอวกาศ ความรู้พื้นฐานดังกล่าวมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อภาคอุตสาหกรรมทั้งอุตสาหกรรมการผลิตทั่วไปและอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงทั้งในและต่างประเทศ

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

  1. เพื่อผลิตวิศวกรการบินและอวกาศที่มีพื้นฐานความรู้ และสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ด้านวิศวกรรมการบินและอวกาศทั้งในด้านการบินในระดับชั้นบรรยากาศและในอวกาศที่พร้อมสำหรับทำ งานออกแบบ วิเคราะห์ปัญหาทางด้านวิศวกรรมได้
  2. เพื่อผลิตวิศวกรการบินและอวกาศที่สามารถประยุกต์ใช้ความรู้สำหรับการออกไปประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมการบินและอวกาศ หรือในการทำงานเพื่อตอบสนองความต้องการของ
    ภาคอุตสาหกรรมได้
  3. ผลิตวิศวกรที่มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้ดี มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาวิชาชีพวิศวกรรม มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

จุดเด่นเฉพาะของหลักสูตร

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ (หลักสูตรปรับปรุงปี พ.ศ.2560) เป็นหลักสูตรที่เน้นด้านการออกแบบทางวิศวกรรมในด้านการออกแบบอากาศปีกตรึงสำหรับการบินในชั้นบรรยกาศ และการออกแบบอวกาศยาน โดยเน้นการออกแบบขั้นพื้นฐาน และให้รู้จักส่วนประกอบต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการออกแบบ ในหลักสูตรนี้มุ่งเน้นการเรียนการสอนโดยให้มีการจัดทำโครงงานย่อยเชิงวิศวกรรมในรายวิชาหลักเพื่อเสริมสร้างทักษะการประยุกต์ใช้ความรู้ในเชิงวิศวกรรมในการแก้ปัญหาต่างๆ นอกจากนี้ยังมีการเสริมทักษะการใช้ซอฟท์แวร์ทางวิศวกรรมในการแก้ปัญหา การจำลองระบบทางด้านการบินและอวกาศ

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ (หลักสูตรนานาชาติ) I-AE

แผนการศึกษา | คำอธิบายรายวิชา | แผนภูมิความต่อเนื่อง (66) | แผนภูมิความต่อเนื่อง (61)

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย : หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ (หลักสูตรนานาชาติ)

ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Engineering Program in Aerospace Engineering (International Program)

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมการบินและอวกาศ)

ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : วศ.บ. (วิศวกรรมการบินและอวกาศ)

ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Engineering (Aerospace Engineering)

ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.Eng. (Aerospace Engineering)

Student Outcomes (SOs)

  1. An ability to identify, formulate, and solve complex engineering problems by applying principles of engineering, science, and mathematics
  2. An ability to apply engineering design to produce solutions that meet specified needs with consideration of public health, safety, and welfare, as well as global, cultural, social, environmental, and economic factors
  3. An ability to communicate effectively with a range of audiences
  4. An ability to recognize ethical and professional responsibilities in engineering situations and make informed judgments, which must consider the impact of engineering solutions in global, economic, environmental, and societal contexts
  5. An ability to function effectively on a team whose members together provide leadership, create a collaborative and inclusive environment, establish goals, plan tasks, and meet objectives
  6. An ability to develop and conduct appropriate experimentation, analyze and interpret data, and use engineering judgment to draw conclusions
  7. An ability to acquire and apply new knowledge as needed, using appropriate learning strategies

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

148 หน่วยกิต

รูปแบบ

หลักสูตรระดับปริญญาตรี 4 ปี จัดการเรียนการสอนรูปแบบผสมผสาน ที่ประกอบไปด้วยการสอนในห้องเรียน การฝึกในห้องปฏิบัติการและสหกิจศึกษา

ประเภทของหลักสูตร

หลักสูตรระดับปริญญาตรีทางวิชาการ

ภาษาที่ใช้

การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษ สำหรับเอกสารและตำราเรียนในวิชาของหลักสูตรเป็นภาษาอังกฤษ

การรับเข้าศึกษา

รับนักศึกษาไทยหรือนักศึกษาต่างประเทศที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้

ความร่วมมือกับสถาบันอื่น

1) Brandenburg University of Technology Cottbus-Senftenberg (BTU CS), Cottbus, Germany ให้ความร่วมมือในลักษณะ การแลกเปลี่ยนอาจารย์/นักศึกษา การเรียน การสอนและสหกิจศึกษา

2) The University of Tokyo, Tokyo, Japan ให้ความร่วมมือในลักษณะการแลกเปลี่ยนอาจารย์/นักศึกษา การเรียน การสอนและสหกิจศึกษา

3) บริษัท ศรีราชา เอวิเอชั่น จำกัด ให้ความร่วมมือในลักษณะการเรียนและการสอนในวิชาสำหรับนักบินพาณิชย์ตรีและสหกิจศึกษา

การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา

ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

1) ผู้เข้าศึกษาจะต้องมีวุฒิการศึกษาอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

1.1) สำเร็จการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประเภทวิชาอุตสาหกรรม กลุ่มวิชาเครื่องกลไฟฟ้า/โยธา/อิเล็กทรอนิกส์/ช่างอุตสาหกรรม ฐานวิทยาศาสตร์ (หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง) หรือ

1.2) สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ หรือผ่านการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต จากสถาบันที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง หรือ

1.3) มีผลคะแนนของระบบสอบรับรองคุณวุฒิของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ เช่น Scholastic Aptitude Test (SAT) หรือ International General Certificate of Secondary Education (IGCSE) เป็นต้น

โดยคุณวุฒิ รายวิชา และผลคะแนนต้องผ่านการพิจารณาโดยคณะกรรมการประจำหลักสูตรและความเห็นชอบของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

2) ผู้เข้าศึกษาจะต้องสอบผ่านการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อตามระเบียบการคัดเลือกนักศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือมีคุณสมบัติอื่นๆ ตามระเบียบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต

ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน

มีความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมศาสตร์ พ.ศ.2553 ซึ่งบันทึกในฐานข้อมูลหลักสูตรเพื่อเผยแพร่ (Thai Qualifications Register: TQR) ของสำนักคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ระดับปริญญาตรี ภายในปีการศึกษา 2563

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้สามารถประกอบอาชีพดังต่อไปนี้

– วิศวกรทางการบินและอวกาศ วิศวกรเครื่องกลหรือสาขาที่เกี่ยวข้อง

– วิศวกรควบคุมการผลิตและคุณภาพ

– วิศวกรฝ่ายออกแบบและพัฒนากระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์

– ผู้ช่วยนักวิจัยงานด้านวิศวกรรม

– เจ้าของกิจการ

ความสำคัญของหลักสูตร

หลักสูตรวิศวกรรมการบินและอวกาศ (หลักสูตรนานาชาติ) เป็นหลักสูตรที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ความรู้ด้านคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ ในการวิเคราะห์และการออกแบบเบื้องต้นในด้านการบิน ทั้งการบินในชั้นบรรยากาศและในอวกาศ ความรู้พื้นฐานดังกล่าวมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อภาคอุตสาหกรรมทั้งอุตสาหกรรมการผลิตทั่วไปและอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงทั้งในและต่างประเทศ หลักสูตรนี้สนองตอบความต้องการทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม เนื่องจากการพัฒนาอย่างรวดเร็วในด้านอุตสาหกรรมการบินและอวกาศทั้งภายในและต่างประเทศ ทางภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลและการบิน-อวกาศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จึงได้จัดทำหลักสูตรใหม่ในเชิงรุก ที่มีศักยภาพและสามารถก้าวทันวิวัฒนาการของเทคโนโลยีกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมการบินและอวกาศและอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยอาศัยการพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีผ่านกระบวนการร่วมพัฒนาบุคลากรกับภาคอุตสาหกรรมผ่านทางสหกิจศึกษา และความร่วมมือในด้านการเรียนการสอน การทำวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยต่างๆในต่างประเทศให้มากขึ้น อีกทั้งเป็นหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งจะช่วยเพิ่มทักษะความสามารถด้านภาษาในการติดต่อสื่อสารและในการทำงานร่วมกับนานาชาติ นอกจากนี้หลักสูตรยังได้มีความร่วมมือกับโรงเรียนการบินที่ได้มาตรฐานและเปิดโอกาสให้สามารถนำบางรายวิชาในหลักสูตรไปเทียบโอนกับวิชาภาคพื้นหลักสูตรนักบินพาณิชย์ตรีภายใต้ข้อตกลงระหว่างภาควิชาและโรงเรียนการบิน ซึ่งจะทำให้นักศึกษาที่ต้องการประกอบอาชีพนักบินเป็นนักบินที่มีพื้นฐานด้านวิศวกรรมการบินที่มีคุณภาพ ในขณะเดียวกันความร่วมมือนี้จะช่วยให้นักศึกษาด้านวิศวกรรมการบินและอวกาศสามารถใช้อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องบินและสนามบินที่มี ในการศึกษาเพิ่มเติมความรู้ การทำวิจัยและพัฒนาในด้านวิศวกรรมการบินและอวกาศให้มากยิ่งขึ้น ในระหว่างกระบวนการเรียนรู้นี้นักศึกษาจะได้พัฒนาความรู้ พัฒนาทักษะในการทำงานพร้อมไปด้วยคุณธรรม จริยธรรมในวิชาชีพ และสามารถนำความรู้และทักษะที่ได้รับการพัฒนาไปแก้ไขปัญหาได้ในอนาคต และจะส่งผลให้การพัฒนากระบวนการคิด วิเคราะห์ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิผล โดยมุ่งเน้นให้บัณฑิตที่จบการศึกษามีความพร้อมที่จะเรียนรู้และสามารถปฏิบัติงานได้ทันที และมีศักยภาพสูงในการพัฒนาตนเองให้เข้ากับลักษณะงานทั้งด้านวิชาการ และวิชาชีพ สามารถบูรณาการทักษะต่างๆ ที่ได้เรียนรู้เพื่อที่จะประกอบวิชาชีพได้ทั้งในและต่างประเทศ

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1) เพื่อผลิตวิศวกรที่มีพื้นฐานความรู้วิศวกรรมการบินและอวกาศ ที่พร้อมสำหรับการทำงานออกแบบ วิเคราะห์ สังเคราะห์เชิงวิศวกรรม และมีศักยภาพสำหรับการศึกษาต่อระดับสูงในสาขาเฉพาะทาง หรือประกอบวิชาชีพนักวิจัยทั้งในและต่างประเทศ

2) เพื่อผลิตวิศวกรการบินและอวกาศที่สามารถมีความคิดเชิงตรรกะ สามารถคิด วางแผน และแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ และสามารถบูรณาการและประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะต่างๆเพื่อที่จะประกอบวิชาชีพในสาขาวิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องในภาคอุตสาหกรรม

3) เพื่อผลิตวิศวกรที่มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี ในการประกอบอาชีพทั้งในและต่างประเทศ

4) เพื่อผลิตวิศวกรที่สามารถประกอบอาชีพนักบินที่มีความรู้พื้นฐานในด้านวิศวกรรมการบินที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

5) เพื่อผลิตวิศวกรที่มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้ดี มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาวิชาชีพวิศวกรรม มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

จุดเด่นเฉพาะของหลักสูตร

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ (หลักสูตรนานาชาติ) เป็นหลักสูตรที่เน้นด้านการออกแบบ วิเคราะห์ สังเคราะห์เชิงวิศวกรรมขั้นพื้นฐานในด้านการออกแบบอากาศยานสำหรับการบินในชั้นบรรยากาศ และการออกแบบอวกาศยาน โดยจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษตลอดทั้งหลักสูตร มุ่งเน้นการเรียนการสอนโดยให้มีการจัดทำโครงงานย่อยเชิงวิศวกรรมในรายวิชาหลักเพื่อเสริมสร้างทักษะการประยุกต์ใช้ความรู้ในเชิงวิศวกรรมในการปัญหาต่างๆ นอกจากนี้ยังมีการสอนพื้นฐานการประยุกต์ใช้ซอฟแวร์ทางวิศวกรรมขั้นสูงเพื่อช่วยในการออกแบบ จำลองและวิเคราะห์ ระบบทางด้านวิศวกรรมการบินและอวกาศ หลักสูตรนี้ได้มีความร่วมมือในด้านการเรียนการสอน การทำวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยต่างๆในต่างประเทศ โดยจะมีศาสตราจารย์และผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศมาร่วมในการสอนในบางรายวิชาและเป็นที่ปรึกษาร่วมในโครงงานของนักศึกษา นอกจากนี้ในหลักสูตรยังจัดให้มีการทำสหกิจศึกษาเป็นระยะเวลา 1 ภาคการศึกษา ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมต่างๆและมหาวิทยาลัยในต่างประเทศเพื่อเสริมสร้างทักษะในการประยุกต์ใช้ความรู้ในเชิงวิศวกรรมในการแก้ปัญหาและสร้างประสบการณ์ในการทำงานจริงให้กับนักศึกษา

นอกจากนี้หลักสูตรยังได้มีความร่วมมือกับโรงเรียนการบินที่ได้มาตรฐานและเปิดโอกาสให้สามารถนำบางรายวิชาในหลักสูตรนี้ไปเทียบโอนเป็นวิชาภาคพื้นของหลักสูตรนักบินพาณิชย์ตรีภายใต้ข้อตกลงระหว่างภาควิชาและโรงเรียนการบิน ซึ่งจะทำให้นักศึกษาที่สนใจเรียนในหลักสูตรนักบินเพิ่มเติมสามารถใช้เวลาในการศึกษาหลักสูตรนักบินลดลง และจะช่วยทำให้นักศึกษาที่ต้องการประกอบอาชีพนักบินเป็นนักบินที่มีพื้นฐานด้านวิศวกรรมการบินที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันความร่วมมือนี้จะช่วยให้นักศึกษาด้านวิศวกรรมการบินและอวกาศสามารถใช้อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องบินและสนามบินที่มี ในการศึกษาเพิ่มเติมความรู้ การทำวิจัยและพัฒนาในด้านวิศวกรรมการบินและอวกาศให้มากยิ่งขึ้น

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ (หลักสูตรนานาชาติ) เป็นหลักสูตรที่ออกแบบมาเพื่อผลิตวิศวกรการบินและอวกาศที่มีความสามารถและทักษะต่างๆ ดังนี้

1) มีความสามารถในการกำหนดปัญหาด้านวิศวกรรม พร้อมตั้งสมมติฐานและแก้ปัญหาได้

2) สามารถวิเคราะห์และประยุกต์ใช้ความรู้ด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ด้านวิศวกรรมเพื่อพัฒนาและแก้ปัญหางานด้านวิศวกรรมการบิน-อวกาศได้

3) สามารถคำนวณและออกแบบทางวิศวกรรมเบื้องต้นด้านการบินในระดับชั้นบรรยากาศและในอวกาศได้

4) สามารถออกแบบการทดลอง ดำเนินการทดลองทางด้านวิศวกรรมการบินและอวกาศ รวมถึงการวิเคราะห์ผลที่ได้จากการทดลองและประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม

5) มีทักษะการใช้เครื่องมือทั้งฮารด์แวร์และซอฟท์แวร์ทางวิศวกรรมที่ทันสมัย ในการทำงานด้านวิศวกรรม

6) มีความสามารถในการค้นหาข้อมูลและศึกษาด้วยตนเอง และนำเสนอข้อมูลต่างๆ ต่อผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

7) สามารถทำงานเป็นทีม มีความเป็นผู้นำ และทำงานอย่างมืออาชีพ

8) มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพวิศวกรรม ทำงานอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

9) มีความรู้ด้านวิศวกรรมที่ดีและสามารถศึกษาต่อในระดับการศึกษาที่สูงขึ้น

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลเพื่อการออกแบบและนวัตกรรม (หลักสูตรนานาชาติ) I-ME

แผนการศึกษา | คำอธิบายรายวิชา | แผนภูมิความต่อเนื่อง (67) | แผนภูมิความต่อเนื่อง (62)

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย : หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลเพื่อการออกแบบและนวัตกรรม (หลักสูตรนานาชาติ)

ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Engineering Program in Mechanical Engineering for Design and Innovation (International Program)

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมเครื่องกลเพื่อการออกแบบและนวัตกรรม)

ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : วศ.บ. (วิศวกรรมเครื่องกลเพื่อการออกแบบและนวัตกรรม)

ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Engineering (Mechanical Engineering for Design and Innovation)

ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.Eng. (Mechanical Engineering for Design and Innovation)

Student Outcomes (SOs)

  1. An ability to identify, formulate, and solve complex engineering problems by applying principles of engineering, science, and mathematics
  2. An ability to apply engineering design to produce solutions that meet specified needs with consideration of public health, safety, and welfare, as well as global, cultural, social, environmental, and economic factors
  3. An ability to communicate effectively with a range of audiences
  4. An ability to recognize ethical and professional responsibilities in engineering situations and make informed judgments, which must consider the impact of engineering solutions in global, economic, environmental, and societal contexts
  5. An ability to function effectively on a team whose members together provide leadership, create a collaborative and inclusive environment, establish goals, plan tasks, and meet objectives
  6. An ability to develop and conduct appropriate experimentation, analyze and interpret data, and use engineering judgment to draw conclusions
  7. An ability to acquire and apply new knowledge as needed, using appropriate learning strategies

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

136 หน่วยกิต

รูปแบบ

หลักสูตรระดับปริญญาตรี 4 ปี จัดการเรียนการสอนรูปแบบผสมผสาน ที่ประกอบไปด้วยการสอนในห้องเรียนและการฝึกในห้องปฏิบัติการ

ประเภทของหลักสูตร

หลักสูตรระดับปริญญาตรีทางวิชาการ

ภาษาที่ใช้

การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษ สำหรับเอกสารและตำราเรียนในวิชาของหลักสูตรเป็นภาษาอังกฤษ

ความร่วมมือกับสถาบันอื่น

Brandenburg University of Technology Cottbus-Senftenberg, Cottbus, Germany ให้ความร่วมมือในลักษณะ การแลกเปลี่ยนอาจารย์/นักศึกษา การเรียนและการสอน

การรับเข้าศึกษา

รับนักศึกษาไทยหรือนักศึกษาต่างประเทศที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

ผู้เข้าศึกษาจะต้องสำเร็จการศึกษาอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

1) สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประเภทวิชาอุตสาหกรรม กลุ่มวิชาเครื่องกลไฟฟ้า/โยธา/อิเล็กทรอนิกส์/ช่างอุตสาหกรรม ฐานวิทยาศาสตร์หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง หรือ

2) สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) เน้นกลุ่มสาระการเรียนรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ผ่านการเรียนรายวิชาทางคณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรวมกันไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต หรือ 

3) มีผลคะแนนของระบบสอบรับรองคุณวุฒิของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ เช่น Scholastic Aptitude Test (SAT) หรือ International General Certificate of Secondary Education (IGCSE) เป็นต้น โดยคุณวุฒิ รายวิชาและผลคะแนนต้องผ่านการพิจารณาโดยคณะกรรมการประจำหลักสูตรและความเห็นชอบของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และ

4) มีคุณสมบัติอื่นๆ ตามระเบียบของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้สามารถประกอบอาชีพดังต่อไปนี้

 วิศวกรฝ่ายออกแบบและพัฒนากระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์

 วิศวกรเครื่องกลหรือสาขาที่เกี่ยวข้อง

 วิศวกรควบคุมการผลิตและคุณภาพ

 ผู้ช่วยนักวิจัยงานด้านวิศวกรรม

 ผู้ประกอบกิจการด้านวิศวกรรม นวัตกรรมและเทคโนโลยี

 ผู้ประกอบอาชีพอิสระและอาชีพอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ความสำคัญของหลักสูตร

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลเพื่อการออกแบบและนวัตกรรม (หลักสูตรนานาชาติ) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567) เป็นหลักสูตรที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ความรู้ด้านคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ ในการวิเคราะห์และการออกแบบเครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์โดยคำนึงถึงทั้งสมรรถนะในการทำงานตามหลักทางกลและความต้องการของผู้ใช้งาน หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรที่สร้างนักออกแบบตามหลักการทางวิศวกรรมเครื่องกลบูรณาการกับการออกแบบเชิงสร้างสรรค์ที่รวมไปถึงเทคโนโลยีกระบวนการผลิตและนวัตกรรมในสาขาที่เกี่ยวข้อง เน้นไปที่การใช้เทคนิคการคำนวณทางวิศวกรรมขั้นสูงที่ช่วยในการออกแบบ บัณฑิตของหลักสูตรนี้ได้รับการพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงความต้องการและกระบวนการดำเนินการทางธุรกิจ ด้วยความร่วมมือในด้านการเรียนการสอนกับภาคอุตสาหกรรม การจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน การทำวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ในต่างประเทศ อีกทั้งการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษจะช่วยเพิ่มทักษะความสามารถด้านภาษาในการติดต่อสื่อสารและในการทำงานร่วมกับนานาชาติ บัณฑิตที่จบการศึกษามีความพร้อมที่จะเรียนรู้และสามารถปฏิบัติงานได้ทันที และมีศักยภาพสูงในการพัฒนาตนเองให้เข้ากับลักษณะงานทั้งด้านวิชาการ และวิชาชีพ สามารถบูรณาการทักษะต่างๆ ที่ได้เรียนรู้เพื่อที่จะประกอบวิชาชีพในภาคอุตสาหกรรมทั้งอุตสาหกรรมการผลิตทั่วไป อุตสาหกรรมบริการ และอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงทั้งในและต่างประเทศ

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลเพื่อการออกแบบและนวัตกรรม (หลักสูตรนานาชาติ) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567) เป็นหลักสูตรที่ออกแบบมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตวิศวกรที่มีความสามารถในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเครื่องกลเป็นพื้นฐาน และมีการเน้นเสริมทักษะกระบวนการออกแบบเชิงกลเป็นพิเศษ วิศวกรเครื่องกลที่สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรนี้สามารถบรรลุเป้าหมายดังต่อไปนี้

1) สามารถออกแบบ วิเคราะห์ สังเคราะห์เชิงวิศวกรรม และมีศักยภาพสำหรับการศึกษาต่อระดับสูงในสาขาเฉพาะทาง หรือประกอบวิชาชีพผู้ช่วยนักวิจัยทั้งในและต่างประเทศ

2) มีความคิดเชิงตรรกะและเชิงสร้างสรรค์ สามารถคิด วางแผน และแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ และสามารถบูรณาการและประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะต่างๆ เพื่อที่จะประกอบวิชาชีพในสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องในภาคอุตสาหกรรม 

3) สามารถใช้คอมพิวเตอร์ และโปรแกรมซอฟต์แวร์การจำลองปัญหา และโปรแกรมซอฟต์แวร์การคำนวณทางวิศวกรรม

4) สามารถสื่อสารในระดับสากลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5) มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้ดี มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาวิชาชีพวิศวกรรม มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

จุดเด่นเฉพาะของหลักสูตร

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลเพื่อการออกแบบและนวัตกรรม (หลักสูตรนานาชาติ) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567) เป็นหลักสูตรที่ถูกออกแบบภายใต้ Outcome-based education (OBE) เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ทั้งด้าน Thermal Engineering, Control & IoT และ Mechanical Design รวมถึงการฝึกทักษะทั้งทางด้าน Engineering skills และ Soft skills มีการจัดลำดับการเรียนรู้อย่างชัดเจน โดยมุ่งเน้นการเรียนการสอนแบบเกี่ยวกับการออกแบบเชิงวิศวกรรมในรายวิชาหลักมากเป็นพิเศษ เพื่อเสริมสร้างทักษะการประยุกต์ใช้ความรู้ในเชิงวิศวกรรมอย่างสร้างสรรค์ นอกจากนี้ หลักสูตรได้นำเทคโนโลยีด้านการสร้างแบบจำลองด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อออกแบบและแก้ไขปัญหาทางด้านวิศวกรรมเครื่องกล รวมถึงใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างนวัตกรรมตามนโยบาย Thailand 4.0 มาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อฝึกให้นักศึกษามีความรู้และทักษะในการคำนวณและออกแบบด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ โดยจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษตลอดทั้งหลักสูตร